Wounded Knee Entertainment แนวภาพยนตร์

แนวภาพยนตร์

แนวภาพยนตร์ post thumbnail image

แนวภาพยนตร์ ในทางทฤษฎีภาพยนตร์ ภาพยนตร์ถูกจัดแบ่งออกเป็นแนว ๆ โดยแนวภาพยนตร์หนึ่งแนวมีความหมายถึงภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาจากองค์ประกอบของเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน แนวภาพยนตร์มักถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามส่วนประกอบของภาพยนตร์หลักๆ สามอย่าง ได้แก่ ฉาก, อารมณ์, และรูปแบบ ฉากหมายถึงสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เรื่องราวในภาพยนตร์ดำเนินไป อารมณ์หมายถึงความรู้สึกที่ผู้ชมได้รับตลอดการชมภาพยนตร์ และรูปแบบหมายความกว้างๆ ถึงอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำและวิธีการเล่าเรื่อง

ภาพยนตร์ถูกจัดแบ่งออกเป็นหลายแนว โดยภาพยนตร์หนึ่งแนว หมายถึง ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาจากองค์ประกอบของเรื่องราวที่คล้ายๆกัน ตามส่วนประกอบของภาพยนตร์หลักๆ 3 อย่าง ได้แก่ ฉาก อารมณ์ รูปแบบ ซึ่งแต่ละส่วนประกอบมีความหมาย ดังนี้

ฉาก       หมายถึง สถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เรื่องราวในภาพยนตร์ดำเนินไป

อารมณ์   หมายถึง ความรู้สึกที่ผู้ชมได้รับตลอดการชมภาพยนตร์

รูปแบบ   หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำและวิธีดำเนินเรื่อง

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์หนึ่งเรื่องอาจมีหลายแนวอยู่ในเรื่องเดียวกัน ซึ่งในที่นี้จะแบ่งแนวของภาพยนตร์ โดยยึดถืออารมณ์ ความรู้สึกที่ผู้ชมได้รับ ดังนี้

  1. ภาพยนตร์แอ็กชั่น (Action Film) หมายถึง ภาพยนตร์แบบบู๊ ยิง ต่อสู้ ระทึกใจ สร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับผู้ชมผ่านการใช้ความรุนแรง เหมาะสำหรับคนชอบความรุนแรงและศิลปะการต่อสู้ เช่น ช็อคโกแลต องค์บาก 1-3 เป็นต้น
  2. ภาพยนตร์สงคราม (War Film) ที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้นในอดีต เน้นจุดๆหนึ่งในสงครามนั้นๆ
  3. ภาพยนตร์ผจญภัย (Adventure Film) ภาพยนตร์แนวผจญภัย เข้าป่าฝ่าดง เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย และต้องมีการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมผ่านทางการเสี่ยงภัยของตัวละคร
  4. หนังคาวบอยตะวันตก (Western) เป็นภาพยนตร์ที่แสดงวิถีชีวิตของคนอเมริกันยุคบุกเบิกที่เข้าไปตั้งรกรากในดินแดนป่าเถื่อนแถบตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เน้นเรื่องราวของคนที่มีอาชีพรับจ้างขี่ม้าต้อนวัว หรือเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ ที่ต้องสู้กับแก้งโจรผู้ร้าย นายทุน หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ชั่วร้าย การดวลปืน พวกนอกกฎหมาย หรือบางเรื่องก็สู้กับพวกอินเดียนแดง
  5. หนังตลก (Comedy) ภาพยนตร์ตลก เบาสมอง มุ่งสร้างความสนุกสนานและเสียงหัวเราะ เหมาะกับคนที่ต้องการดูเพื่อพักผ่อน ไม่ต้องคิดอะไรมาก
  6. ภาพยนตร์ชีวิต : ดราม่า (Drama) สร้างความตื่นตัวตื่นใจ ความเศร้าสลด ผ่านการแสดงของตัวละคร ที่สร้างความรู้สึกซึ้งเศร้า เคล้าน้ำตา ทำให้นึกถึงชีวิตคนจริงๆ
  7. ภาพยนตร์อีโรติก (Erotic Film) เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปี เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศ
  8. ภาพยนตร์เพลง (Musical) ภาพยนตร์เพลง มีลักษณะที่ตัวละครร้องและเต้นในเรื่องที่นำเสนอ โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทหนังรัก
  9. ภาพยนตร์รักโรแมนติก (Romance) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักฉันชู้สาว เหมาะกับคู่หนุ่มสาวและผู้ที่มีความรักทั้งหลาย
  10. ภาพยนตร์นิยายเหนือจริง : แฟนตาซี (Fantasy) มักมีหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ การผสมจินตนาการ และเรื่องเหนือจริง เรื่องในฝัน เพ้อเจ้อ สร้างความสนุกสนาน และตระการตาตระการใจด้วยฉากและเนื้อเรื่องที่ไม่อยู่ในความเป็นจริง
  11. ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟ (Science fiction หรือ sci-fi) ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาอ้างอิงวิทยาศาสตร์ หรือใช้ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีเข้าช่วยในการอธิบายลักษณะตัวละคร ฉาก พฤติกรรมของตัวละคร หรือความเป็นไปของเนื้อเรื่อง มักเป็นเรื่องราวของโลกในอนาคต หรืออวกาศ ที่มีเทคโนโลยีที่เกิดจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นองค์ประกอบ และทำให้น่าสนใจโดยผสมจินตนาการเข้าไปด้วย
  12. .ภาพยนตร์สยองขวัญ (Horror Film) หรือภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller) มีเรื่องราวและฉากที่มุ่งสร้างความตื่นเต้น ความกลัว สยองขวัญ และความตึงเครียด
  13. ภาพยนตร์ลึกลับ (Mystery) ภาพยนตร์ที่ลึกลับ ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ มุ่งสร้างความฉงนงงงวย และความรู้สึกท้าทายในการแก้ไขปริศนา
  14. ภาพยนตร์อาชญากรรม (Crime) เรื่องที่นำเสนอมักเกี่ยวกับการสืบหาฆาตกร ฆาตกรที่ก่ออาชญากรรม แก็งค์มาเฟีย หรือกลุ่มผู้ก่ออาชญากรรม การสูญเสียและการแก้แค้น เรื่องที่ตัวละครเอกเป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรม หรือตำรวจสืบสวน
  15. ภาพยนตร์การ์ตูน (Animation) หมายถึง ภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งปัจจุบันกำลังมาแรง
  16. ภาพยนตร์แนวสารคดี (Documentary Film) แสดงเรื่องราวเป็นสารคดี นำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่แต่งขึ้นใหม่
  1. ฟิล์มนัวร์ (Film-Noir) เน้นการใช้ภาพเป็นตัวสื่อเนื้อหา ดูง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับบุคคล

Related Post

การเขียนบทภาพยนตร์

ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์

บทภาพยนตร์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บทโครงสร้าง (Plot Structure) บทแสดง (Screenplay) และบทถ่ายทำ (Shooting Script) ผู้เขียนบทโรคงสร้าง และบทแสดง ส่วนบทถ่ายทำจะเป็นตากล้องกับผู้กำกับร่วมกันนำบทแสดงมาจัดทำเพิ่มเติมในส่วนของ มุมกล้อง ฉาก แอ็คชั่นของนักแสดงรวมไปด้วย โดยขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์ มี 7 ขั้นตอน ดังนี้  1.การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้วจึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้องจริงชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของ